ประกันชีวิตมีแบบไหนบ้าง?
1. ประกันตลอดชีพ (Whole Life) = เน้นความคุ้มครองชีวิต
2. ประกันสะสมทรัพย์ / ประกันบำนาญ (Saving / Annuity) = เน้นเงินคืน/ปันผล (ยิ่งอายุยืนยิ่งคุ้ม)
3. ประกันสะสมทรัพย์แบบพิเศษ (Special Par) = ต้องการทั้งคุ้มครองและเงินคืน
4. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked) = ต้องการทั้งคุ้มครองและลงทุนในกองทุนรวม
ประกันสุขภาพมีแบบไหนบ้าง
1. สุขภาพ (H&S) = ประกันสุขภาพแบบแยกประเภท เน้นคุ้มครองค่ารักษาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง
2. สุขภาพเหมาจ่าย (H&S Gold) = คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่าย วงเงินตั้งแต่ 1-60 ล้านบาทต่อปี)
3. ชดเชยรายได้ (HB) = กรณีนอนโรงพยาบาลจะมีเงินชดเชยให้เป็นรายวัน เบี้ยประกันคงที่ด้วยครับ (ทำได้ถึงอายุ 60 ปี)
4. โรคร้ายแรง (CI) = คุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรง อายุช่วงวัยทำงานเบี้ยถูกมาก ทุกคนควรมีครับเพราะเบี้ยไม่แพง และคุ้มครองสูง
ยังไม่แน่ใจว่าต้องซื้อประกันชีวิตแบบไหน?
หากไม่แน่ใจ สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยครับ ไม่ต้องรีบตัดสินใจ ไม่ซื้อไม่เป็นไร ยินดีให้บริการครับ
ขอข้อมูลเบื้องต้นตามนี้ครับ
1. อายุ และ เพศ
2. เบี้ยประกันที่คุณต้องการออม
3. วัตถุประสงค์ของการทำประกัน (เก็บเงิน, เพื่อลูก, ดูแลครอบครัว, ฯลฯ)
4. ความกังวล (เกษียณ, ค่าใช้จ่ายครอบครัว, หนี้สิน, เจ็บป่วย, ฯลฯ)
เบี้ยประกันต่อปี ที่เหมาะสม คือเท่าไร?
เบี้ยประกันชีวิต = 10-15% ของรายได้ต่อปี
เบี้ยประกันสุขภาพ = 3-5% ของรายได้ต่อปี
ประกันแบบ ยาว หรือ สั้น ดีกว่ากัน?
ประกันแบบคุ้มครองยาว ดีกว่าแบบคุ้มครองสั้น เพราะ
1. ผลประโยชน์แบบยาวสูงกว่าแบบสั้น ทั้งความคุ้มครอง และ ผลตอบแทน
2. ประกันแบบยาวทำให้คุ้มครองสั้นลงได้ แต่ประกันแบบสั้นทำให้คุ้มครองยาวไม่ได้ (ต้องสมัครใหม่อย่างเดียว)
3. สุขภาพก่อนทำประกัน มีผลต่อเบี้ยประกัน และ เงื่อนไขความคุ้มครอง ทำประกันแบบยาววันที่สุขภาพดี อนาคตหากสุขภาพไม่แข็งแรงบริษัทประกันก็ต้องรับประกันต่อไปด้วยอัตราเบี้ยประกันเดิม กลับกันกรมธรรม์แบบสั้นอนาคตประกันครบสัญญา จะทำประกันใหม่ก็ต้องถูกเพิ่มเบี้ย หรือ มีข้อยกเว้นความคุ้มครอง และที่เลวร้ายที่สุดคือบริษัทไม่รับทำประกัน
รู้สึกประกันระยะยาวเป็นภาระ
ต้องเลือกแบบประกันที่ตอบโจทย์ และ เบี้ยประกันที่เหมาะสมครับ เราจะไม่รู้สึกว่าประกันชีวิตนั้นเป็นภาระเลย คล้ายๆกับการ ที่เราผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เราผ่อนได้ เพราะเป็นสิ่งที่เราคิดมาอย่างดีแล้ว
กรณีฉุกเฉินต้องใช้เงิน แต่ไม่อยากยกเลิกประกัน ทำอย่างไรได้บ้าง
กรมธรรม์ประกันชีวิต จะมีมูลค่าเงินสดอยู่ (CV) เราสามารถกู้เงินกรมธรรม์ออกมาใช้ยามฉุกเฉิน และเรายังได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิมต่อไป โดยจะมีดอกเบี้ยเงินกู้แค่ ร้อยละ 5-8% ต่อปี หรือ 0.5-0.7% ต่อเดือนเท่านั้นเอง และเรายังมีอิสระในการชำระคืนเงินกู้ได้ตามที่เราต้องการอีกด้วยครับ
ไม่อยากส่งเบี้ยประกันต่อ ทำอย่างไรได้บ้าง
ประกันชีวิต มีความยืดหยุ่น เราสามารถใช้สิทธิ์เปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ได้ 3 วิธี ครับ
1. เวนคืนกรมธรรม์ = หยุดส่งเบี้ย สิ้นสุดความคุ้มครอง และ รับเงินคืนตามตารางมูลค่าเงินสด (CV)
2. ใช้เงินสำเร็จ = หยุดส่งเบี้ย รับความคุ้มครองต่อไปจนจบสัญญา โดยผลประโยชน์ของกรมธรรม์จะลดลงตามตารางใช้เงินสำเร็จ (RTU)
3. ขยายระยะเวลา = หยุดส่งเบี้ย เปลี่ยนกรมธรรม์ชีวิตเป็นแบบจ่ายเบี้ยทิ้ง รับความคุ้มครองที่สูงต่อไปตามตารางขยายระยะเวลา (ETI)